Health

  • สาเหตุและวิธีป้องกันจาก โรคผิวหนัง
    สาเหตุและวิธีป้องกันจาก โรคผิวหนัง

    โรคผิวหนัง เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป โดยมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การใช้เครื่องสำอาง หรือการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีสารเคมี ซึ่งสามารถทำให้ผิวหนังเสียหายได้ โรคผิวหนังมีหลายประเภท แต่สาเหตุและอาการของโรคแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท

    โรคผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ผื่นแพ้และสิว โดยผื่นแพ้เกิดจากการสัมผัสกับสิ่งที่เป็นสารเคมีหรืออากาศที่มีฝุ่นละออง ส่วนสิวเกิดจากการอุดตันของต่อมน้ำมันในผิวหนัง โรคผิวหนังอื่นๆ ที่พบได้บ่อยคือ ฝ้า แผลเป็น และผิวหนังแห้ง ซึ่งสาเหตุมาจากการเสียดสีของผิวหนัง การติดเชื้อ หรือการใช้เครื่องสำอางที่ไม่เหมาะสม

    โรคผิวหนัง

    การป้องกันโรคผิวหนังสามารถทำได้โดยการใช้เครื่องสำอางที่เหมาะสม ไม่สัมผัสกับสิ่งที่มีสารเคมี และการใช้เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เพื่อป้องกันการเกิดผื่นแพ้และสิว นอกจากนี้ การดูแลผิวหนังด้วยการใช้ครีมที่เหมาะสม และการรักษาผิวหนังให้ชุ่มชื้นเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันโรคผิวหนังอื่นๆ ที่เกิดจากการเสียดสี และการติดเชื้อ

    วิธีการป้องกันโรคผิวหนัง

    โรคผิวหนังเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมและการดูแลรักษาผิวหนังที่ไม่เหมาะสม การป้องกันโรคผิวหนังจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพื่อให้ผิวหนังของเรามีความสมบูรณ์และสวยงามตลอดเวลา

    การดูแลผิวหนัง

    การดูแลผิวหนังเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดโรคผิวหนัง โดยเราควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพผิวหนังของเรา และควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมที่เป็นประโยชน์ต่อผิวหนัง เช่น ครีมทาหน้าที่มีสารสกัดจากธรรมชาติ หรือน้ำมันทาผิวที่มีส่วนผสมของวิตามินอี เป็นต้น

    การป้องกันโรคผิวหนัง

    การป้องกันโรคผิวหนังสามารถทำได้โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมที่เป็นประโยชน์ต่อผิวหนัง เช่น ครีมกันแดดที่มีสารป้องกันแสงแดด และควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมที่ไม่เหมาะสมกับผิวหนัง เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีที่อาจทำให้เกิดแพ้ผิวหนัง นอกจากนี้ การรักษาสุขภาพโดยรวม เช่น การออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารที่เหมาะสมก็เป็นสิ่งที่สำคัญในการป้องกันโรคผิวหนังอีกด้วย

    ในกรณีที่เกิดโรคผิวหนัง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม โดยการรักษาโรคผิวหนังจะแตกต่างกันไปตามประเภทของโรค และอาการของผู้ป่วย การรักษาโรคผิวหนังอาจจะใช้ยา หรือการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องเลเซอร์ หรือการผ่าตัด ซึ่งการรักษาโรคผิวหนังที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีสุขภาพผิวหนังที่ดีอีกครั้ง

    คำถามที่พบบ่อย FAQ

    โรคผิวหนังชนิดใดที่พบบ่อยที่สุด

    โรคผิวหนังที่พบบ่อยที่สุดคือ สิว โดยเฉพาะสิวอุดตัน ซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการอุดตันของต่อมน้ำมันในผิวหนัง ทำให้เกิดการอักเสบและริ้วรอยบนผิวหนัง นอกจากนี้ โรคผิวหนังอื่นๆ ที่พบบ่อยได้แก่ ภูมิแพ้ ผื่นแพ้ และเห็บผม

    สาเหตุของโรคผิวหนังเกิดจากอะไร

    สาเหตุของโรคผิวหนังมีหลายปัจจัย เช่น การใช้เครื่องสำอางที่ไม่เหมาะสม การติดเชื้อแบคทีเรีย การสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่มีสารเคมี และการสูบบุหรี่ นอกจากนี้ สภาวะที่เป็นพิษต่อร่างกาย เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคภูมิแพ้

    ที่มา

    medparkhospital.com

    ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ siliconvalley4.com

     

Economy

  • ชู “เงินกู้โควิด” ผลงานชิ้นโบแดงเพิ่มมูลค่าจีดีพี
    ชู “เงินกู้โควิด” ผลงานชิ้นโบแดงเพิ่มมูลค่าจีดีพี

    ชู “เงินกู้โควิด” ผลงานชิ้นโบแดง เพิ่มมูลค่าจีดีพี 8 แสนล้าน-เศรษฐกิจโต 4.89%

    ประทับตรา “ผลงานดีมาก” ครม.รับทราบประเมินผลเงินกู้โควิดก้อนแรก 3 แผนงาน ส่งผลให้มูลค่าจีดีพี รวมตั้งแต่ปี 2563–2566 เพิ่มขึ้น 0.80 ล้านล้านบาท จีดีพีเพิ่มขึ้น 4.89% ปลื้มสุด ชูมาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบช่วยคนไทยบรรเทาภาระ–ลดหนี้–หมุนเงินเพิ่มกว่า 2 ล้านล้านบาท

    นายอนุชา บูรพชัยศรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบรายงานการประเมินผลโครงการในภาพรวม รอบ 6 เดือน ครั้งที่ 3

    และรายงานการประเมินผลลัพธ์ต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมในการดำเนินการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลัง กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563

    ประกอบด้วย แผนงานที่ 1 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาโควิด-19

    จากการประเมินผล 51 โครงการ วงเงิน 63,398.96 ล้านบาท มีผลเบิกจ่าย 59,051.04 ล้านบาท คิดเป็น 93.14% ของกรอบวงเงิน ผลการ ดำเนินงานอยู่ในระดับดีมาก ทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 63,559.74 ล้านบาท

    มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่คาดว่ารัฐจะได้รับกลับคืนสูงสุดภายในเวลา 3 ปี 12,267.03 ล้านบาท ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่ติดเชื้อโควิด

    ยกระดับการวิจัยและพัฒนาการผลิตวัคซีน และเพิ่มความเชื่อมั่นของบุคลากรทางการแพทย์ต่อระบบสาธารณสุข ของประเทศ ขณะที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุขได้รับค่าตอบแทน เยียวยา

    และชดเชยค่าเสี่ยงภัย ทั้งสิ้น 6,222.14 ล้านบาท สถานพยาบาลและโรงพยาบาลทั่วประเทศได้รับการสนับสนุนครุภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ 33,820 รายการ เช่น เครื่องช่วยหายใจ เครื่องเอกซเรย์ เครื่องตรวจความดัน รถพยาบาล วัสดุทางการแพทย์ และประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 45.90 ล้านโดส

    ชู “เงินกู้โควิด” ผลงานชิ้นโบแดง เพิ่มมูลค่าจีดีพี 8 แสนล้าน-เศรษฐกิจโต 4.89%
    แผนงานที่ 2 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเยียวยา และชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ

    ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จากการประเมินผล 20 โครงการ วงเงิน 709,059.02 ล้านบาท มีผลเบิกจ่าย 704,749.81 ล้านบาท คิดเป็น 99.39% ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมากเกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 2,304,509.85 ล้านบาท มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อมที่คาดว่ารัฐจะได้รับกลับคืนสูงสุดภายใน 3 ปี 444,837.87 ล้านบาท

    ช่วยชะลอการเกิดหนี้เสียหรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สินครัวเรือน บรรเทาผลกระทบครอบครัวจากเงินช่วยเหลือเยียวยาต่างๆ ลดความ เครียดและความวิตกกังวลของประชาชน โดยส่วนนี้ เป็นการช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชยรายได้ และบรรเทาค่าใช้จ่าย 704,749.72 ล้านบาท เช่น ประชาชนที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเราชนะ 32,866,393 ราย กลุ่มเปราะบาง 6,663,602 ราย และเกษตรกร 7,565,880 ราย

    แผนงานที่ 3 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

    จากการประเมินผล 329 โครงการ วงเงินรวม 208,354.27 ล้านบาท มีผลเบิกจ่าย 185,538.47 ล้านบาท คิดเป็น 89.05% ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมาก ทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 816,288.75 ล้านบาท

    ชู “เงินกู้โควิด” ผลงานชิ้นโบแดง เพิ่มมูลค่าจีดีพี 8 แสนล้าน-เศรษฐกิจโต 4.89%

    มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อมที่คาดว่ารัฐจะได้รับกลับคืนสูงสุดภายในเวลา 3 ปี 173,052.59 ล้านบาท มีการจ้างงานและรักษาระดับการจ้างงานในช่วงโควิด 237,884 ราย ยกระดับกำลังการผลิตผ่านการพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่และพื้นที่ต้นแบบ “โคก หนอง นา” รวมทั้งยกระดับกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ 55,651 แปลงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นการปรับปรุง ซ่อมแซมถนน จำนวน 548 แห่ง และจัดการแหล่งน้ำต่างๆ ทั้งแหล่งน้ำชลประทาน แหล่งน้ำบาดาล และแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน 782 แห่ง

    “ผลกระทบต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Gross domestic product GDP) จากการใช้จ่ายเงินกู้ 950,590.60 ล้านบาท ส่งผลให้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) รวมตั้งแต่ปี 2563-2566 เพิ่มขึ้น 0.80 ล้านล้านบาท และเมื่อพิจารณาตามแผนงาน พบว่า การใช้จ่ายเงินกู้ตามแผนงานที่ 2 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลให้มูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากที่สุด 0.59 ล้านล้านบาท นอกจากนั้น การใช้จ่ายเงินกู้ฯส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริง (Real GDP Growth) ให้เพิ่มขึ้นทั้งหมด 4.89% โดย ในปี 2564 อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 2.48% ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อตั้งแต่ปี 2563-2566 ปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 0.05% ต่อปี โดยในปี 2564 เพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ 0.08%”.

    ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : siliconvalley4.com